ร่วมเดินทางไปกราบนมัสการฟังธรรม

หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร
พระอริยสงฆ์ผู้เป็น “ปูชนียบุคคลบนภูย่าอู่”
สิริอายุ 87 ปี 67 พรรษา
วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)
อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
วัดนาหลวง เป็นภูมิสถานของพระอริยะเจ้า

หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร ท่านมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร และต่อมาเป็นพระภิกษุ มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์องค์สำคัญ ได้แก่ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ชา สุภัทโท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่สด หลวงปู่หล้า

ท่านพุทธทาส หลวงพ่อปัญญา วัดชลประทาน เป็นต้น

หลังจากนั้น ท่านได้ออกธุดงค์ทั่วไทย และยังไปถึงประเทศใกล้เคียงคือ ลาว เขมร พม่า และมาเลเซีย

ปี พ.ศ.2519-2530 ท่านปฎิบัติวิปัสสนาขั้นอุกฤษฎ์ ในอิริยาบถ 3 ท่าคือ ยืน เดิน นั่ง สลับกับการออกธุดงค์ ท่านได้ตั้งสัจบารมีที่จะงดอิริยาบถนอน เป็นเวลา 30 ปี ทำต่อจากปี พ.ศ. 2530

และท่านได้ถือปฏิบัติมาตลอดจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2544 ท่านจำเป็นต้องนอน ทั้งนี้เพราะอาพาธต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยโรคกระดูกสันหลังทับ เส้นประสาท ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในปี พ.ศ. 2543 ท่านได้ตั้งสัจจบารมีว่าจะไม่รับกิจนิมนต์ใดเพื่อทำพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นเวลา 13 ปี จนถึง พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ เพื่อจะเป็นการทำกิจในการอบรมและสั่งสอนพระภิกษุสามเณรในวัดและประชาชนทุก หมู่เหล่าที่จะเข้ามาอบรมวิปัสสนากรรมฐานและฟังพระธรรมเทศนา ณ วัดนาหลวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์

ด้วยนิสัยและบุคลิกลักษณะที่สมถะสันโดษ ต้องการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ปรารถนาตำแหน่งฐานะที่สำคัญใดๆ ท่านจึงขอเป็นประธานสงฆ์คอยให้คำปรึกษาในการบริหารงานในวัด

โอวาทธรรม …หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร…

“…คนพาลถึงจะรู้แค่ไหนก็คือคนพาล เหมือนเอาสายสร้อยไปใส่คอเป็ดมันก็คือเป็ด เอาไปใส่คอหมูก็คือหมู เอาไปใส่คอแมวก็คือแมว มันจะเป็นรสชาติอะไร ความรู้จากคนพาลก็ไม่แตกต่างกัน งูเห่าเอาไปไว้บนยอดฟ้า มันก็คืองูเห่า..”

🙏กราบพ่อเเม่ครูอาจารย์สายหลวงปู่มั่น
หลวงปู่อุดม หลวงปู่บุญมา หลวงปู่ทุย หลวงปู่ทองใบ
หลวงพ่ออินทร์ถวาย หลวงปู่วสันต์ หลวงพ่อสุธรรม หลวงพ่อวิสิษฐ์
ตามรอยพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 3 พี่น้อง
ล่องเรือสักการะพระธาตุกลางน้ำ

ถวายเทียนพรรษา เส้นทางที่ 2/5
อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ
📅 วันศุกร์ที่ 11– วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2566

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *